ข้อมูลเเละความสวยงามพึงพอใจต่อบล็อก

หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ส า ว ๆ น่ า รั ก

D1 Grand Prix USA

Grand Prix D1 2K9 Highlights

Drift 2009 Finals

ติดตั้งแก๊ส LPG , NGV





ติดตั้งแก๊ส LPG , NGV มาตรฐานกรมขนส่งทางบก มีประสบการณ์ติดตั้งระบบมิกเซอร์และหัวฉีดมาแล้วกว่า 10,000 คัน เป็นหนึ่งในอู่ที่มีฐานลูกค้ามากที่สุดติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เปิดทำการมาแล้ว 5 ปี อู่มีขนาดใหญ่กว่า 2,000 ตารางเมตร โดยประกอบธุรกิจติดตั้งแก๊สรถยนต์เพียงอย่างเดียว พนักงานติดตั้งแก๊สรถยนต์ ผ่าน การอบรมจากกรมธุรกิจพลังงาน จึงมีความ ชำนาญเฉพาะทางเป็นอย่างสูงรับติดตั้งแก๊สรถยนต์ 2 ระบบ LPG โดยวิศวกรจากสถาบันชั้นนำระดับประเทศ มาตรฐานการติดตั้งสูง ทีมงาน
ประสบการณ์ติดตั้งแก๊ส 10 ปี งานติดตั้งประณีต อุปกรณ์ใหม่หมดทุกชิ้น ผ่านมาตรฐานจากยุโรป ECE R 67-01ควบคุมการปฎิบัติงานโดยบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์เครื่องกล จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง KMITL ประสบการณ์ทำงานเคยทำงานในโรงงานรถยนต์ญี่ปุ่นที่ขายดีที่สุดในประเทศไทย ควบคุมระบบคุณภาพและตรวจเช็คงานเก็บรายละเอียดโดยบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์อุตสาหการจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง KMITL ระบบไฟฟ้าดูแลโดยบันฑิตวิศวอิเล็กทรอนิกส์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ KMIT NB รับประกัน 1 ปี หรือ 100,000 กิโลเมตร สามารถเคลมประกันเปลี่ยนสินค้าใหม่ได้ทันทีหากเกิดปัญหา ปลอดภัยไร้กังวลจากประสบการณ์ในการติดตั้งอย่างถูกวิธีและออกแบบตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
้สะดวกสุดสำหรับท่านที่อยู่ ย่านบางนา อ่อนนุช ศรีนครินทร์ ทองหล่อ คลองตัน สมุทรปราการ เทพารักษ์
บางกะปิ รามคำแหง ลาดกระบัง ชลบุรี ฉะเชิงเทราเราเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่และเป็นศูนย์บริการเฉพาะทาง ซึ่งเราจะช่วยแก้ปัญหาการติดตั้งหากท่านมีปัญหาในการติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือปัญหาที่ท่านแก้ไม่จบเกี่ยวกับระบบแก๊สรถยนต์

คุณสมบัติทั้ง 10 ประการ
1. แก๊ส LPG ไม่มีสี แก๊สที่รั่วซึมออกมาจากถังจะไม่สามารถมองเห็นได้ ยกเว้นในกรณีที่รั่วออกมามากจึงจะสามารถมองเห็นเป็นละอองขาว ซึ่งตามความจริง ละอองขาวนั้นคือไอน้ำในอากาศที่กลั่นตัวเป็นละออง เนื่องจากได้รับความเย็นจัดจากการระเหยของแก๊สนั่นเอง

2. แก๊ส LPG ไม่มีกลิ่น ทำให้แก๊สแอลพีจีที่ใช้หุงต้ม หรือใช้กับรถยนต์จำเป็นต้องใส่สารที่มีกลิ่นฉุนเข้าไป เพื่อเตือนให้รู้ว่าแก๊สรั่ว โดยสารที่ใช้เติมเข้าไปส่วนใหญ่จะเป็น “เอธิลเมอร์แคปเทน”

3. แก๊ส LPG ไม่มีพิษ ทำให้ผู้ใช้แก๊สส่วนใหญ่มักหายใจ หรือสูดดมแก๊สเข้าไปโดยไม่รู้ตัวในปริมาณมาก ๆ เป็นประจำ ในกรณีที่ผู้ที่มีอาการวิงเวียน คลื่นเหียน และเป็นลม เมื่อได้กลิ่นแก๊สที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ภายในห้องโดยสารนั้น เกิดจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

4. แก๊ส LPG เมื่อมีสภาพเป็นของเหลว จะมีน้ำหนักครึ่งหนึ่งของน้ำ ดังนั้นแก๊สเหลวจะลอยอยู่เหนือน้ำ ถ้าหากแก๊สรั่วลงในคูน้ำ ลำน้ำ หรือแม่น้ำลำคลอง อาจเสี่ยงต่อการลอยไปติดไฟในจุดที่อยู่ห่างออกไปแล้วลุกลามมายังจุดที่แก๊สรั่วได้อย่างรวดเร็ว

5. เมื่อมีสภาพเป็นไอ แก๊ส LPG จะหนักกว่าอากาศเกือบ 2 เท่าของอากาศ ทำให้เมื่อแก๊สรั่วก็จะเคลื่อนตัวไหลไปรวมตัวในที่ต่ำ ดังนั้นที่ตั้งถังแก๊สควรเป็นพื้นที่มีระดับผิวดิน ไม่ควรเก็บหรือตั้งไว้ในห้องใต้ดิน ใกล้ท่อระบายน้ำหรือบ่อน้ำ

6. แก๊ส LPG มีจุดเดือดต่ำ คือมีจุดเดือดประมาณ 0 องศาเซลเซียส ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส เมื่อแก๊สถูกปล่อยออกจากถัง ก็จะเปลี่ยนสภาพจากของเหลวกลายเป็นไอทันที ด้วยการดึงดูดความร้อนจากบริเวณใกล้เคียงมาช่วยในการระเหย ทำให้บริเวณนั้น หรือปลายท่อที่ปล่อยไอแก๊สออกจะมีเย็นจนมีน้ำแข็งเกา

7. แก๊ส LPG มีความข้นใสต่ำ ทำให้รั่วง่าย อุปกรณ์ที่ใช้กับแก๊สจำเป็นต้องออกแบบให้แข็งแรงแน่นหนา ทนต่อความดันสูง หากนำอุปกรณ์ไม่ได้มาตรฐานมาบรรจุแก๊ส อาจทำให้รั่วจนเป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

8. แก๊ส LPG มีการขยายตัวสูง การเติมแก๊สลงในถังหรือภาชนะ ไม่ควรเติมเต็ม ควรมีช่องว่างสำหรับการขยายตัวของแก๊สเมื่อได้รับความร้อน

9. การขยายตัวจากแก๊สเหลวเป็นไอแก๊สเหลว 1 หน่วยปริมาตรจะเปลี่ยนเป็นไอแก๊สได้ประมาณ 250 หน่วยปริมาตร เมื่อแก๊สเหลวรั่วจะอันตรายมากกว่าไอแก๊สรั่ว

10. ส่วนผสมของแก๊สกับอากาศที่ทำให้ติดไฟ คือประมาณ 1.5 ส่วนใน 100 ส่วน ของส่วนผสม ถ้าหากมีอากาศน้อยหรือมากกว่าสัดส่วนดังกล่าว แก๊สจะไม่ติดไฟ

คุณสมบัติทั้ง 10 ประการ ของแก๊ส LPG เป็นสิ่งที่ธรรมชาติกำหนดมาให้เป็นคุณสมบัติพื้นฐานของแก๊สปิโตรเลียมเหลว ที่มีทั้งจุดเด่นและจุดด้อยในตัวเอง ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกใช้เชื้อเพลิงชนิดนี้แทนน้ำมัน ผู้ใช้รถทุกคนควรเรียนรู้ และเข้าใจคุณสมบัติเหล่านี้อย่างถ่องแท้ เพื่อที่จะสามารถใช้พลังงานชนิดนี้ได้อย่างประหยัดและปลอดภัยยิ่งขึ้น



สอบถามรายละเอียด คุณพรชัย 02-3124136,086-337 4381,086-337 4382,086-337 8045,085-3472138
www.ptc-gas.com

ความร้อนที่ผิวถนนมีผลทำให้ยางระเบิดน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถยนต์นั่งทั่วไปที่ไม่ได้มีการบรรทุกสิ่งของที่มีน้ำหนัก หรือจะบอกว่า ความร้อนที่มีผิวถนนมีผลกระทบต่อยางอย่างน้อยกว่าน้ำหนักบรรทุกและความเร็วสูงๆที่ใช้ ก็คงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง

เพราะในขณะที่รถยนต์วิ่งไปตลอดเวลาในระดับความเร็วปกตินั้น กระแสลมที่พัดเข้ามาปะทะกับยาง จะเป็นตัวช่วยระบายความร้อนที่เกิดขึ้นกับยางได้มากทีเดียว
ความร้อนของผิวถนนที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผิวถนนแบบใดในประเทศไทย จึงไม่ใช่สาเหตุหลักที่ทำให้ยางระเบิดได้

ยกเว้นแต่ความร้อนที่เกิดขึ้นสูงผิดปกติ เช่น เมื่อเกิดพายุลมร้อน หรือความร้อนที่เกิดขึ้นตามประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร หรือเมื่อขับรถไปจนยางร้อนจัด
แล้วต้องไปเจอกับอุณหภูมิของอากาศที่เปลี่ยนแปลงกระทันหัน เช่น เจอฝนตก อย่างนี้ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดยางระเบิดได้เหมือนกัน

วิธีการที่ดีเพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการจอดรถบนพื้นผิวที่ร้อนจัดมากๆ เป็นเวลานานต่อเนื่อง และเมื่อท่านต้องขับรถยนต์ทางไกลในสภาพที่ร้อนจัด
ก็ควรทำการพักรถเพื่อให้เครื่องยนต์และยางได้คลายความร้อนลงไปบ้าง โดยประมาณไม่ควรเกิน 300 กิโลเมตร ควรพักรถหนึ่งครั้ง
แต่ทั้งนี้ต้องหลีกเลี่ยงการจอดรถบนพื้นถนนที่มีน้ำเปียกถนน เพราะอุณหภูมิที่มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหันจะทำให้ยางร่อน , บวม หรือยางระเบิดได้

lambo and 2 ferrari,s